เมื่อวันที่ 18 ธค.59 ที่ผ่านมา ผู้อำนวยการ จากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ดร.ทวารัฐ สตะบุตร พร้อมด้วย ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม (Energy Technology For Environment Research Center, ETE) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ผศ.ดร.ชัชวาลย์ ชัยชนะ หัวหน้าศูนย์วิจัยฯ พร้อมด้วยวิศวกรและนักวิจัย พร้อมด้วยทีมสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมดูงานโครงการติดตั้งระบบผลิตน้ำร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน และโครงการผลิตพลังงานด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนทางไกลของเรียนเรียนเครือข่ายโรงเรียนไกลกังวล พื้นที่เป้าหมายโรงเรียนบ้านไทรงาม อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
ซึ่งทั้ง 2 โครงการทางบริษัท เอ็นจินีโอ จำกัด ได้รับโอกาสที่จะเป็นผู้ดำเนินการติดตั้งระบบ
โรงเรียนบ้านไทรงาม เป็นหนึ่งใน 32 โรงเรียนเป้าหมาย ที่ได้รับการสนับสนุนระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ภายใต้ โครงการผลิตพลังงานด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนทางไกลของโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนไกลกังวล โดยการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ดำเนินการโดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อทำการวิเคราะห์และจัดลำดับความจำเป็นเร่งด่วนในการสนับสนุนฯพร้อมทั้งออกแบบระบบที่เหมาะสม โรงเรียนบ้านไทรงามได้รับการคัดเลือกให้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ชนิดไม่เชื่อมต่อสายส่งขนาด 5 กิโลวัตต์ จากจำนวนทั้งสิ้น 32 โรงเรียน เพื่อนำไปใช้กับสื่อการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมไกลกังวล
.
โรงเรียนบ้านไทรงาม เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ทำให้การขยายเขตพื้นที่ให้บริการจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาสามารถดำเนินการได้ ที่ผ่านมาโรงเรียนอาศัยไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพียงแหล่งเดียวทำให้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
โดยเฉพาะการใช้งานในอุปกรณ์การเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมจาก สพฐ. ดาวเทียม (Distance Learning Television ,DLTV) ระบบผลิตไฟฟ้าที่นำมาติดตั้งให้กับโรงเรียนบ้านไทรงาม ได้ถูกออกแบบแยกระบบชาร์ทเป็น 2 ชุด หากเครื่องชาร์ทเครื่องใดเครื่องหนึ่งมีปัญหา ยังมีเครื่องชาร์ทอีกเครื่องทำหน้าที่ชาร์ทไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่สำรองไฟฟ้าได้ เช่นเดียวกันระบบได้ถูกออกแบบให้มีอินเวอร์เตอร์สำหรับแปลงไฟฟ้า 2 เครื่อง เนื่องจากโรงเรียนอยู่ในพื้นที่ห่างไกล หากเครื่้องแปลงไฟเสียยังมีเครื่องแปลงไฟอีกเครื่องทำหน้าที่สำรองจ่ายไฟ จะทำให้นักเรียนยังคงมีไฟฟ้าเพื่อใช้งานต่อไป
ระบบผลิตไฟฟ้านี้ได้ใช้เครื่องชาร์ทไฟฟ้าและเครื่องแปลงไฟฟ้าที่คุณภาพสูงจากประเทศอเมริกา จึงมั่นใจได้ว่า ระบบผลิตไฟฟ้านี้จะคงทนสามารถอยู่กับโรงเรียนได้นาน และไม่มีปัญหาจุกจิกให้คุณครูต้องปวดหัวคอยแก้ไขอยู่บ่อยๆ นอกจากนี้ยังมีระบบเก็บข้อมูลการผลิตไฟฟ้า เพื่อนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์ปรับปรุงให้เกิดความเหมาะสมต่อไป
ผู้อำนวยการ จากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ดร.ทวารัฐ สตะบุตร พร้อมด้วยทีมที่ปรึกษาจาก ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม (Energy Technology For Environment Research Center, ETE) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ผศ.ดร.ชัชวาลย์ ชัยชนะ หัวหน้าศูนย์วิจัยฯ พร้อมด้วยวิศวกรและนักวิจัย ได้ให้ความสนใจและวิเคราะห์รายละเอียดต่างๆ อย่างละเอียด เพื่อให้นักเรียนที่ด้อยโอกาสทางด้านการศึกษา ได้มีโอกาสเท่าเทียมกันกับเด็กที่อยู่ในสังคมเมือง เพื่อประเทศไทยจะได้พัฒนาด้วยความมั่นคงต่อไป
ทางทีมงานเอ็นจินีโอ ได้มี Mr. kevin turl ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานแสงอาทิตย์ประจำบริษัทเอ็นจินีโอ ได้ให้การต้อนรับพร้อมทั้งอธิบายการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ ที่เป็นระบบ Smart PV system เหมาะสมที่จะก้าวไปยัง Solar PV remote station 4.0
ดูกันชัดๆ อุปกรณ์ทุกอย่างถูกบรรจุในตู้ควบคุม สวยงามและเป็นระเีบียบ
ถ่ายรูปกับท่านผู้ใหญ่ใจดี เป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้โครงการดีๆ นี้เกิดขึ้น เด็กบนดอยวันนี้ มีเสียงหัวเราะ และมีความรู้ไม่แพ้เด็กในเมืองกรุงแล้ว
พบปะพูดคุยกันได้ที่ เอ็นจินีโอ ที่นี่มีคำตอบเรื่องพลังงาน